งานบุญประเพณีคีรีวงคต
ด้านศาสนา
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ป่าคือ
สิ่งมหัศจรรย์ของชุมชนแห่งนี้ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ป่า นา น้ำ
จัดการทรัพยากรเชิงบูรณาการ
ประยุกต์ใช้บุญประเพณีคีรีวงคตเป็นปฏิทินวัฒนธรรมในทุกวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี
ทั้งเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ในการส่งเสริมความร่วมมือ ความสามัคคี
สมานฉันท์ระหว่างสถาบันทางศาสนา ภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไปอย่างดี
ประวัติความเป็นมา
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่ริม รัตนมุนี
พระเกจิผู้มีภูมิปัญญาที่สูงยิ่ง ซึ่งได้เล็งเห็นเหตุการณ์ในอนาคต
เกี่ยวกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำสาธารณประโยชน์
ที่อาจเผชิญกับปัญหาการพัฒนาประเทศก็เป็นได้
จึงได้ริเริ่มประสานแนวทางศาสนธรรมกับประเพณีและวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
ดำเนินการทำป่าชุมชนคีรีวงคตขึ้น โดยได้นำพาชาวบ้านทำป่าชุมชนผืนแรกชื่อว่า
ป่าชุมชนคีรีวงคตเป็นพื้นที่แรกในตำบลทุ่งมน เนื้อที่ประมาณ ๖๕ ไร่
เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาโดยการจำลองแบบอย่างเขาวงกต
ซึ่งเป็นเรื่องราวจากคัมภีร์พุทธศาสนา เรื่องพระเจ้าสิบชาติ มหาเวสสันดรชาดก
โดยทำเส้นทางที่ซับซ้อน วก วน เพื่อเดินจงกรมปฏิบัติธรรม สมถะวิปัสสนากรรมฐาน
และเจริญสติปัสนากรรมฐาน และประกอบกิจกรรมทางศาสนา
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๒ หลวงปู่ริม รัตนมุนี จะพาญาติธรรมในท้องถิ่น มาร่วมกันปฏิบัติ
สมถะวิปัสนากรรมฐานและการเจริญสติวิปัสนากรรมฐานพร้อมทำบุญต่ออายุ ณ
สถานที่ป่าคีรีวงคตแห่งนี้ ทุกปี
และช่วงกลางคืนก็จะนำพาชาวบ้านไปจัดงานลอยกระทง
ที่วัดอุทุมพร ตำบลทุ่งมน และทำพิธีกรรม ปังอ๊อกเปรี๊ยะแคหรือประเพณีไหว้พระจันทร์
เพื่อเสี่ยงทายฟ้าฝนฤดูกาลเพาะปลูกในปีถัดไป
พิธีกรรมการอาบน้ำท่ามกลางพระจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยเชื่อกันว่า หากใครได้อาบน้ำท่ามกลางพระจันทร์ในวันเพ็ญเดือน
๑๒ ในรอบปีซึ่งมีครั้งเดียว จะพ้นเคราะห์ พ้นโศก จะพบแต่ความโชคดี และอายุจะยืนยาว
สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนตลอดปี และได้มีการดำเนินการมาตลอดจนกระทั่ง
หลวงปู่ริม รัตนมุนี ท่านได้มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
หลังจากที่หลวงปู่ริม
รัตนมุนี มรณภาพไปแล้ว ต่อมา พระมหาวีระกิตติวัณโณ เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม
ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้นำพาชาวบ้าน ญาติธรรม
และประชาชนทั่วไปในตำบลทุ่งมนและตำบลใกล้เคียง
ร่วมฟื้นฟูงานบุญคีรีวงคตนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และยังคงบุญประเพณีคีรีวงคต
โดยจัดพิธีทำบุญ บูชาครูหลวงปู่ บวชป่าเป็นประจำทุกปี
เพื่อเป็นการสืบทอดในพิธีดังกล่าวตลอดมา
และหลวงปู่ริม
รัตนมุนี ยังได้ให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยพาชาวบ้านดำเนินการเรื่องป่าชุมชนขึ้น แห่งนี้เป็นพื้นที่แรกในตำบลทุ่งมน
เริ่มจากเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ ภายหลังเพิ่มเป็น ๔๐ ไร่ เรียกกันว่า
ป่าชุมชนคีรีวงคต
และกลายเป็นแบบอย่างการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชน
ป่าครอบครัวและป่าหัวไร่ปลายนา ในเขตตำบลทุ่งมน และของจังหวัดสุรินทร์
ด้วยคุณูปการของหลวงปู่ริม รัตนมุนี ได้ตระหนักในการทำความดี
และสำนึกในบุญคุณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน
จึงได้เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างแกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
และแกนนำองค์กรชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อบูรณาการงานบุญประเพณีคีรีวงคต ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบมีส่วนร่วมในตำบลทุ่งมน
ทุกภาคีเครือข่ายจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีอันดีงามนี้
ชีวประวัติ หลวงปู่ริม รัตฺนมุนี
(แก้วกมล) พระอธิการริม รัตฺนมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดอุทุมพร
ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์(ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๘ พ.ศ. ๒๕๒๘ ) ผู้สร้างมหาคุณูปการแก่ชุมชน ท่านได้ยึดมั่นในประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์สังคมนานานับประการ
เป็นพระสงฆ์ผู้นำพัฒนาชุมชนและที่พึ่งของชุมชน เช่น การพัฒนาวัดอุทุมพร
สร้างวัดสะเดารัตนาราม และวัดอื่น ๆ เป็นผู้นำศรัทธาสร้างโรงเรียนบ้านทุ่งมน (ริสถานีอนามัยตำบลทุ่งมน
สะพานข้ามแม่ชี สระน้ำ บ่อน้ำ ถนนหนทาง และสถานที่อื่นๆ ให้เป็นสาธารณะประโยชน์จำนวนหลายแห่ง
สูงยิ่งด้วยการเป็นแบบอย่างและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ของศิษยานุศิษย์
ชาติภูมิ
เกิดวันที่ ๓๐ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ปีระกา บ้านติดทางตะเลีย ณ บ้านทุ่งมน หมู่ ๑
ตำบลทุ่งมน ( สถานที่ที่ท่านเกิด
ปัจจุบันอยู่ตรงจุดของบ้านนายเทียน อย่านอนใจ หรือ ติดด้านตะวันตกของบ้านยายเสาะ
สร้อยสุวรรณ บ้านหนองโบสถ์ หมู่ ๙ ตำบลทุ่งมน ) บุตรของคุณปู่ทวดเชด แก้วกมล
กับย่าทวดลม แก้วกมล ซึ่งมีพื้นเพอยู่บ้านทุ่งมน เป็นบุตรคนสุดท้อง
มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน คือ
๑. ปู่รึม แก้วกมล
๒. ย่าจุล เงินเก่า
๓. ย่าจีน อย่านอนใจ
๔. ปู่เคน แก้วกมล
๕. ปู่โคน แก้วกมล
๖.
หลวงปู่ริม รตฺนมุนี (แก้วกมล)
ลักษณะ
อุปนิสัย วัยแรกเกิด ตัวผอมบอบบาง กระเสาะกระแสะ
ป่วยบ่อย คุณย่าทวดลมจึงฝากย่าทวดนิว
ซึ่งเป็นคุณแม่ของลูกสะใภ้แน็บ(ตะลอง) เลี้ยงให้และก็ได้อยู่อาศัยด้วยตลอดมา เมื่อทั้งคุณพ่อและแม่เสียชีวิตก็ต้องกำพร้าตั้งแต่วัยเด็ก
วัยหนุ่มมีรูปร่าง ความสูงปานกลาง ร่างกายบอบบาง ผิวขาว เสียงเล็ก
การงานก็มักจะได้ทำและถนัดงานบ้าน งานเรือน หุงข้าว ตำข้าว หาบน้ำ ทำขนม
งานระเบียบพิธีกรรม มักเข้าเล่นหรือทำงานร่วมกับกลุ่มเพื่อนหญิง
ชอบเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่คนเฒ่าคนแก่ ทั้งช่วยงานสังคมไปวัดไปวา นิสัยเรียบร้อย
การศึกษาทางโลก
จบชั้น ป.๔ โรงเรียนประชาบาลตำบลทุ่งมน (วัดอุทุมพร) บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุ ๒๐
ปี คุณย่าทวดนิว คุณแม่เลี้ยง จัดงานบวชให้ ณ บ้านปู่ทวดพม-ย่าทวดแคลง บ้านทุ่งมน จำพรรษา
ณ วัดอุทุมพร มีพระครูพึง เป็นประธานสงฆ์หรือเจ้าอาวาสวัด ชีวิตในวัดท่านเป็นศิษย์ที่ดีของคุณครู
ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอักขระ ทั้งธรรมะและปฏิบัติธรรม
เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของญาติโยมมาก เมื่อพระครูพึงจำเป็นต้องลาสิกขา ญาติโยมก็นิมนต์ท่านให้รับตำแหน่งประธานสงฆ์หรือเจ้าอาวาสต่อ
ต่อมาท่านมีเหตุต้องลาสิกขา แต่ไปอยู่ในเพศฆราวาสนั้นระยะสั้นคือไม่นานเลย
ชีวิตแห่งการสร้างบารมี
เมื่อทางวัดยังไม่มีพระภิกษุรูปใดเหมาะสมจะเป็นเจ้าอาวาส หรือวัดต้องขาดประธานสงฆ์
ขาดเจ้าอาวาสวัด ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่จะเป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่างมั่นใจ ทางญาติโยมมียายพิง-ยายพอน
แผลงดีสอง พี่น้องสาวใหญ่ และคณะเช่น ตาโม เรืองชาญ ตาแสง ดังถวิล ตาสอด
สวายประโคน ยายนุม เงินเก่า ยายนาน สร้อยสุวรรณ ฯลฯ เห็นว่าหลวงปู่ริมมีคุณลักษณะเป็นที่พึ่งของชุมชนได้
จึงได้พากันเกลี้ยกล่อมให้ท่านบวช ครั้งที่ ๒ เพื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอีกครั้ง
ท่านก็ได้รับการสนับสนุนและร่วมมือสูงยิ่งจากชุมชน
พ.ศ.
๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๕๒๘
หลวงปู่ริม รัตนมุนี ได้ปกครอง อบรมสั่งสอน ให้การศึกษา แก่ พระภิกษุสามเณรในวัด
พรรษาละ ๓๐ - ๘๐ รูป
พ.ศ.
๒๕๐๐ ก่อภูเขาหิน คีรีวงคต ๓ ลูก ( พนมลูก)
พ.ศ.
๒๕๐๐ - พ.ศ. ๒๕๒๘ จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม
อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมและงานบุญตามสถานที่สำคัญ ๆ
พ.ศ.
๒๕๐๑ สร้างสะพานไม้ข้ามลำชี สัญจรระหว่างจังหวัดสุรินทร์กับบุรีรัมย์
(สะเปียนลูก)
พ.ศ.
๒๕๐๓ ให้กำเนิดโรงเรียนบ้านทุ่งมน
(ริมราษฎร์นุสรณ์)
พ.ศ.
๒๕๐๗ สร้างสถานีอนามัยตำบลทุ่งมน
พ.ศ.
๒๕๑๐ ให้กำเนิดวัดสะเดารัตนาราม (
เวือดทะมัย เวียสตะโมกสะเดา)
พ.ศ.
๒๕๑๕ - พ.ศ. ๒๕๒๘ สร้างโบสถ์จตุรมุข ในวัดอุทุมพร พร้อมพระพุทธชินราช
พระประธานองค์ใหญ่ในโบสถ์พ.ศ.
๒๕๑๗ สร้างศูนย์พัฒนาตำบลทุ่งมน มราษฎร์นุสรณ์)
ศูนย์พัฒนาตำบลทุ่งมน มรณภาพ
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๘ (อายุ ๖๔ ปี) ตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี สร้างคุณูปการมากมาย เป้าหมายในการฟื้นฟูงานบุญคีรีวงคต
ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกประชาชน
ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรท้องถิ่น
และการยกระดับพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
วัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูงานบุญคีรีวงคต
๑.
เพื่อการจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้จัดการทรัพยากรเชิงบูรณาการ
ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่านาน้ำ บุญประเพณีคีรีวงคตเป็นปฏิทินวัฒนธรรมตำบลทุ่งมน
๒.
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ความสามัคคีสมานฉันท์ระหว่าง สถาบันทางศาสนา ภาครัฐ
เอกชน องค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและประเทศ
๓.
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความตระหนักในคุณค่าของป่าชุมชน และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีการดูแลรักษา
บูรณปฏิสังขรณ์ สถานที่สำคัญทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม
-
การประกอบพิธีมงคลถวายบายศรีบูชาครูหลวงปู่ริม รัตนมุนี และประกอบพิธีเรียงหิน
-
ทำบุญพระสงฆ์ อุทิศส่วนกุศล
-
การบวชป่าส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
-
การปล่อยปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
-
เวทีเสวนา องค์ความรู้และวัฒนธรรมชุมชน
-
การแสดงเด็กและเยาวชน ได้แก่ เรือมอันเร การฟ้อนรำต่างๆ
-
การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่ ประกวดวาดภาพระบายสี ประกวดคำขวัญ เวทีเสวนา
|